บอร์ด ความรัก,คนฉลาดแต่ขี้เกียจVSคนโง่แต่ขยัน ประสบการณ์ช.. โพสท์โดย ไฟซ์ ไรเดอร์กลิ้งผ่าคนฉลาดแต่ขี้เกียจ VS คนโง่แต่ขยัน หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้าง แต่คงสงสัยว่าทำไม กลุ่มคนทั้งสองสามารถเป็นประเด็นในการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง การแบ่งกลุ่มผมขอหยิบยกคำนิยามของของนายพล Kurt von Hammerstein-Equord ของกองทัพเยอรมัน (1878 – 1943) โดยกำหนดเกณฑ์ในการแบ่งคนเพื่อไปปฎิบัติงานในกองทัพได้เป็น 4 กลุ่ม 1.คนฉลาดและขยัน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความสามารถสูง สามารถทำได้อย่างดีเต็มประสิทธิ์ภาพและได้งานออกมาดี คนกลุ่มนี้จะควบคุมดูแลการทำงานของลูกน้องได้เป็นอย่างดี เพราะมีความเก่งและขยัน สามารถดูแลงานได้เป็นอย่างดี ตำแหน่งที่เหมาะคือ ตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง เป็นต้น 2.คนฉลาดและขี้เกียจ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ความสามารถแต่ไม่ชอบทำงาน(หนัก) กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มพยายามหาช่องทางที่ดีที่สุดเร็วที่สุดเพื่อจะได้ประหยัดเวลาและสามารถสร้างวิธีการ ที่นอกกรอบทำให้งานเสร็จได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิ์ภาพที่ดี ตำแหน่งงานที่เหมาะคือตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง นักวางแผน ที่ปรึกษา เป็นต้น 3.คนโง่และขยัน กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ทำงานในหน้าที่ และในบ้างครั้งจะทำเกินกว่าที่สั่งโดยมีโอกาศสูงที่งานจะผิดพลาดได้มาก เพราะเป็นคนขยันสั่งไว้แค่ไหนทำเกินกว่าที่สั่ง ถ้าไม่ผิดก็ดีแต่หากผิดพลาดก็อยู่จะเสียหายมาก กลุ่มคนนี้ไม่เหมาะสำหรับการทำงาน 4.คนโง่และขี้เกียจ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ทำงานในกรอบและต้องมีการสั่ง จะไม่ทำนอกเหนือคำสั่งเพราะตัวเองเป็นคนขี้เกียจ สั่งแค่ไหนทำแค่นั้น หากผิดพลาดก็อยู่วงจำกัดที่สั่งไว้เท่านั้น ตำแหน่งที่เหมาะสำหรับคนกลุ่มนี้เป็น พนักงานทั่วไป เป็นต้น ในปัจจุบันมุมมองของกลุ่มคนทั้ง 4 มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา คนมีความเข้าใจว่าคนโง่แต่ขยัน ดีกว่าคนฉลาดแต่ขี้เกียจ เพราะมองว่า ขยันซักวันต้องดีขึ้น เหมือนกับเต่าที่ขยันเดินจนถึงเส้นชัย เหมือนคนขยันก็มีโอกาศประสบความเร็จ คนโง่ก็มีทางฉลาดได้ถ้าขยันมากๆ แต่ถ้ามองในคำนิยามของคนโง่แปลว่าคนที่มีอวิชชา หรือความไม่รู้ นั้นเอง คือ"ถ้าเราไม่รู้ตัเองก็แสดว่าเรายังเป็นคนโง่ แต่หากเรารู้ตัวว่าเราไม่รู้นั้นแสดงว่าเราไม่ได้เป็นคนโง่" ดังนั้น คนโง่ในความหมายนี้อาจจะหมายถึง คนที่ไม่รู้ตัวเอง ไม่พัฒนาตัวเอง ทำเรื่องผิดพลาดซ้ำซาก โดยไม่แก้ไขและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น ถ้าเอาความขยันทำในสิ่งที่ผิดพลาดเรื่อยๆ ก็ไม่เป็นผลดีกับตนเอง ดังนั้นคนกลุ่มนี้จะไม่เป็นที่ต้องการของหน่วยงาน องค์กรณ์ต่างๆ เลย อีกกรณีถ้าตัวเองขยันพัฒนาความรู้ ความสามารถ แก้ไขในความผิดพลาดที่ทำผิดพลาดมาก่อนหน้านี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีก แสดงเขาไม่ใช่คนโง่แต่เป็นคนฉลาดและยิ่งมีความขยันเพิ่มขึ้น เขาก็จะกลายเป็น คนฉลาดและขยัน สามารถเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ ส่วนในกลุ่มของ คนฉลาดและขี้เกียจ จะมองได้ 2 มุมมองคือ คนฉลาดที่ไม่ยอมทำอะไรเลย หาทางหลบเลี่ยงงานโยนงาน หาช่องขี้เกียจ อู้งาน คนประเภทนี้อาจจะไม่มีประโยชน์กับองค์กรและหน่วยงานเลย อีกมุมคือคนฉลาดที่ทำทุกอย่างให้ง่าย สร้างวิธีการประหยัดเวลา ไม่ต้องทำซ้ำบ่อยๆ หาวิธีการที่ง่าย และมีประสิทธิ์ภาพได้ กลุ่มนี้จำเป็นอยู่ในองค์กรและหน่วยงาน เพราะใช้ในการแก้ปัญหา สร้างกลยุทธใหม่ และแหวกแนว นอกกรอบอย่างทีเราคาดไม่ถึงเลยที่เดียว บทสรุปจากบทความที่กล่าวมาแล้วนั้น คนสองกลุ่ม คือกลุ่มคนฉลาดและขี้เกียจ กับ กลุ่มคนโง่และขยัน ก็มีจุดดีจุดด้อยที่แตกต่างกันไม่มีอะไรที่ตายตัว ดังนั้นเราจะสรุปไม่ได้เลยว่ากลุ่มใดดีกว่ากลุ่มใด อาจจะบอกได้แค่เพียงว่า งานนี้เหมาะกับคนประเภทใด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้คงให้แง่มุมในการบริหารบุคคลได้ไม่มากก็น้อยครับ "ความผิดพลาดครั้งแรกถือเป็นครู ทำผิดครั้งที่สองถือว่าเป็นความโง่" ข้อคิดจากดร. เทียม โชควัฒนา